โครงสร้างการบริหาร
ทำเนียบบุคลากร
ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
หมู่บ้านในเขต อบต.
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
งานกิจการสภา
งานควบคุมภายใน
งานงบประมาณ
งานการเงิน
รายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
งานสวัสดิการสังคม
งานบริหารงานบุคคล
งานศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
งานพัสดุ
งานสาธารณสุข
งานป้องกันสาธารณภัย
พิจารณา ทบทวน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิภารกิจ
แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
โรงเรียนในเขตตำบล
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 2 คน
หมายเลข IP 44.222.134.250
คุณเข้าชมลำดับที่ 2,992,099

เฟสบุ๊ค อบต
LINE ID


  หน้าแรก     การจำนอง 

การจำนอง
การจำนอง  

 

การจำนอง 
 
          จำนองก็เป็นหลักประกันหนี้อีกประการหนึ่ง จำนองคือการใครคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาอสังหาริมทรัพย์ อันได้แก่ ที่ดิน บ้านเรือนเป็นต้น ไปตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนองหรือนัยหนึ่งผู้จำนองเอาทรัพย์สินไปทำหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้เจ้าหนี้ผู้จำนองอาจเป็นตัวลูกหนี้เอง หรือจะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ เช่น นายดำ กู้เงินนายแดง 100,000 บาท เอาที่ดินของตนเองจำนองหรือนายเหลืองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเอาที่ดินจำนองจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินเป็นประกันหนี้นายดำ ก็ทำได้เช่นเดียวกันเมื่อจำนองแล้วถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็มีอำนาจยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้และมีสิทธิพิเศษได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ธรรมดาทั่วไป
         
กู้เงินแล้วมอบโฉนด หรือ น.ส. 3 ให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้มิใช่จำนองเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิพิเศษเป็นเพียงเจ้าหนี้ธรรมดา แต่มีสิทธิยึดโฉนดหรือ น.ส. 3 ไว้ตามข้อตกลงจนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ฉะนั้นถ้าจะทำจำนองก็ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้อง 

      ทรัพย์สินที่จำนอง :
               ทรัพย์สินที่จำนองได้ คืออสังหาริมทรัพย์อันหมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ที่ดิน บ้านเรือน เรือกสวนไร่นาเป็นต้น นอกจากนั้นสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้บางอย่าง เช่นเรือกำปั่น เรือกลไฟ แพ ที่อยู่อาศัย และสัตว์พาหนะ ถ้าได้จดทะเบียนไว้แล้วก็อาจนำจำนองได้ดุจกันเมื่อเจ้าของทรัพย์นำไปจำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้แก่เจ้าหนี้เจ้าของยังครอบครองใช้ประโยชน์เช่น อยู่อาศัยในบ้าน หรือทำสวนทำไร่หาผลประโยชน์ได้ต่อไปนอกจากนั้นอาจจะโอนขายหรือนำไปจำนองเป็นประกันหนี้รายอื่นต่อไป ก็ย่อมทำได้ส่วนเจ้าหนี้นั้นการที่ลูกหนี้นำทรัพย์ไปจดทะเบียนจำนองก็นับได้ว่าเป็นประกันหนี้ได้อย่างมั่นคงไม่จำเป็นต้องเอาทรัพย์นั้นมาครอบครองเอง 

       ผู้จำนองต้องระวัง :
                    
ผู้มีสิทธิจำนองได้คือเจ้าของหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ถ้าเจ้าของจำนองทรัพย์สินด้วยตนเองก็ไม่มีปัญหาแต่ถ้ามอบให้บุคคลอื่นไปทำการจำนองแทน บางกรณีก็อาจเกิดปัญหาได้ข้อควรระมัดระวัง คือ ควรเขียนใบมอบฉันทะหรือใบมอบอำนาจให้ชัดเจนว่า ให้ทำการจำนองไม่ควรเซ็นแต่ชื่อแล้วปล่อยค้างไว้อันบุคคลอื่นนั้นอาจกรอกข้อความเอาเองแล้วนำไปทำประการอื่นอันไม่ตรงตามความประสงค์ของเราเช่น อาจเพิ่มเติมข้อความว่ามอบอำนาจให้โอนขายแล้วขายเอาเงินใช้ประโยชน์ส่วนตัวเสีย เป็นต้น เราผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ผู้มอบอำนาจอาจจะต้องถูกผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้นเพราะว่าประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย 

       ผู้รับจำนองต้องระวัง :
                     ผู้รับจำนองทรัพย์สินก็ต้องระมัดระวังเช่นกันควรติดต่อกับเจ้าของทรัพย์หรือเจ้าของที่ดินโดยตรงและควรตรวจดูที่ดินทรัพย์สินที่จำนองว่ามีอยู่จริงตรงกับโฉนดเคยปรากฏว่ามีผู้นำโฉนดที่ดินไปประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแต่ที่ดินตามโฉนดนั้นกลับเป็นถนนเหลือจากการจัดสรรหรือที่ดินตามโฉนดนั้นพังลงน้ำไปหมดแล้ว ดังนั้นผู้รับจำนองจึงไม่ควรรับจำนองหรือติดต่อทำสัญญากับคนอื่นหรือผู้ที่อ้างว่าเป็นตัวแทน เพราะถ้าปรากฏในภายหลังว่าบุคคลนั้นทำใบมอบฉันทะหรือใบมอบอำนาจปลอมขึ้นแล้วนำที่ดินอื่นมาจำนองแม้เราผู้รับจำนองจะมีความสุจริตอย่างไรเจ้าของอันแท้จริงก็มีสิทธิติดตามเอาคืนที่ดินของเขาได้โดยไม่ต้องไถ่ถอน 

       ผู้รับโอนและผู้รับจำนองซ้อนก็ต้องระวัง :
                    ทรัพย์ที่จำนองนั้นเจ้าของจะนำไปจำนองซ้ำหรือโอนขายต่อไปก็ย่อมทำได้ผู้รับจำนองคนหลังต้องพิจารณาว่าทรัพย์นั้นเมื่อขายทอดตลาดจะมีเงินเหลือพอชำระหนี้ของตนหรือไม่เพราะเจ้าหนี้คนแรกมีสิทธิได้รับการชำระหนี้ก่อนคนหลังมีสิทธิแต่เพียงได้ชำระหนี้เฉพาะส่วนที่เหลือผู้รับโอนหรือผู้ซื้อทรัพย์ที่จำนองก็ต้องระวังเช่นเดียวกันเพราะรับโอนทรัพย์โดยมีภาระจำนองก็ต้องไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มิฉะนั้น เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะบังคับจำนองยึดทรัพย์เอาที่ดินออกขายทอดตลาดซึ่งถ้าผู้รับโอนสู้ราคาไม่ได้ ทรัพย์หลุดมือไปเป็นของคนอื่น ดังนั้นที่ซื้อมา
สาส์นจากผู้บริหาร
ปฏิทินกิจกรรม
ตุลาคม 2567
อา พฤ
29 30 1 2 3 4 5
6 7 89 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31 1 2
3 4 5 6 7 8 9
วันที่ 8 ตุลาคม 2567
เว็บไซต์บริการ
กฎหมายน่ารู้
กฎหมายในการปฏิบัติงาน
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
การให้บริการ
อบต.ในเครือข่าย

แผนพัฒนาท้องถิ่น
ศูนย์ร้องเรียน/ร้องทุกข์
ข้อมูล ITA
ข้อมูล LPA ประจำปี 2566
ประมวลจริยธรรมเจ้าหน้าที่
คู่มือสำหรับประชาชน
แบบสอบถาม
งานตรวจสอบภายใน
การติดตามประเมินผลแผน
ข้อมูลการติดต่อ/แผนที่
มาตรการประหยัดพลังงาน
ร้องเรียนการทุจริต
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบาย No Gift Policy
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคก
หมู่ 5 บ้านหนองบัวโคก ต.หนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ 31130
Tel : 044-110621   Fax : 044-110621
Email : saraban_06311013@dla.go.th
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.